วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 5



บันทึกอนุทิน
วันพุธ ที่ 11  กุมภาพันธ์ 2558
เวลาเรียน 09.00-12.20 น.
เวลาเข้าเรียน 09.00 เวลาเลิกเรียน 12.20 น.



กิจกรรมที่ทำวันนี้
     อาจารย์แจกถุงมือ ให้นักศึกษาสวมถุงมือข้างที่ไม่ถนัด จากนั้นก็ให้วาดภาพมือที่ใส่ถุงมือนั้นให้เหมือนที่สุด






               การทำกิจกรรมครั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการสังเกตพฤติกรรม  ถ้าเป็นเด็ก 1 คน เราเห็นเด็กทุกวัน แต่ไม่เคยบันทึกพฤติกรรมเด็ก คิดว่าตนจำได้บันทึกเวลาไหนก็ได้ แต่พอจะบันทึกจริงจำไม่ได้ ก็เหมือนมือของเราเราเห็นทุกวัน พอใส่ถุงมือแล้วให้วาดก็ไม่สามารถจดจำรายละเอียดได้ ในขณะที่วาดจึงพยายาม เทียบกับมือขวา  บางคนก็เอามือที่ใส่ถุงมือไปร่างกับกระดาษ ดูของเพื่อนบ้าง ก็เหมือนกับการสังเกตพฤติกรรมเด็กพิเศษถ้าครูไม่บันทึกทันทีเมื่อเห็นพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมา ครูมาบันทึกทีหลังก็จะใส่ความรู้สึกส่วนตัว  หรือ เทียบกับเด็กคนอื่น ถ้าไม่แน่ใจก็จะถามบุคคลอื่น ซึ่งจำทำให้มีความคลาดเคลื่อนได้



เนื้อหาที่เรียน  วันนี้เรียนเรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครู
การฝึกเพิ่มเติม เช่น การอบรม สัมมนา
การเข้าใจภาวะปกติ
-เด็กคล้ายคลึงมากกว่าแตกต่าง
-ครูต้องรู้จัก ชื่อเล่น ชื่อจริง นามสกุล ของเด็ก
-มองเด็กเป็นเด็ก
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า คือ การเข้าใจพัฒนาการเด็กจะช่วยให้ครูมองเก็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคน
ความพร้อมของเด็ก  
-วุฒิภาวะ 
-แรงจูงใจ
-โอกาส
การสอนโดยบังเอิญ ถ้าเด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสสอนมากขึ้นเท่านั้น
การสอนโดยบังเอิญกับกิจกรรมก็สามารถทอดแทรกได้และ ครูต้องมีความสนใจเด็ก มีความรู้สึกดีต่อเด็ก มีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
อุปกรณ์ สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างควรเป็นสื่อที่ไม่แยกเพศเด็กและเป็นสิ่งที่เล่นไม่ตายตัว เช่น บล็อก  เลโก้
ตารางประจำวัน เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่ประจำกิจกรรมต้องเรียงเป็นลำดับเป็นขั้นตอนและควรคำนึงถึงความเหมาะสมของเวลา 
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น  เช่น การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ยอมรับความสามารถของเด็ก ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคนตั้งไว้ไม่สูงจนเกินไป
การใช้สหวิทยาการ
-ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ ฟังหูไว้หูแล้วไปปรับใช้กับเด็ก
-สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน เช่น  การร้องเพลง
การเปลี่ยนพฤติกรรรมและการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้ เพราะ ทุกคนมีศักยภาพในตัว
เทคนิคการให้แรงเสริม 
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
-พูดชมเด็ก การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก พยักหน้า ยิ้ม ฟัง สัมผัสทางกาย ให้ความช่วยเหลือ ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย  
-ครูให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท
-การย่อยงาน ลำดับความยากง่ายของงาน  
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
-สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
-วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยงานในแต่ละขั้น
-สอนจากง่ายไปยาก
-ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้
-ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
-ทีละขั้นไม่เร่งรัด ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น
-ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา 
จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
-พฤติกรรมทุกอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน เช่น การเข้าห้องน้ำ การหยิบและเก็บของ
-สอนก้าวไปข้างหน้า หรือ ย้อยมาจากข้างหลัง
เช่น เด็กตักซุป  สอนที่ละขั้นตอน คือการสอนไปข้างหน้า
สอนการจับช้อน--การตัก--การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก--การเอาช้อนและซุปเข้าปาก--การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู่ปาก
เด็กพิเศษชอบการสอนย้อนกลับจากข้างหลังไปข้างหน้า เช่น การดึงเชือกร้องเท้าก่อนแล้วย้อนไปทีละขั้นตอน 
การลดหรือหยุดแรงเสริม
-ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
-เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
-เอาเด็กออกจากการเล่น 
ครูต้องคงเส้นคงวา


สิ่งที่นำไปพัฒนา  
     ครูต้องเข้าใจเด็กและรู้จักสังเกตเด็ก ครูควรพกสมุดหรือกระดาษเล็กๆเพื่อเตรียมพร้อมกับจดบันทึกพฤติกรรมเด็กทุกอย่างบันทึกสม่ำเสมอ บันทึกประจำ เวลาที่เด็กมาขอความช่วยเหลือ มาปรึกษา อย่าใช้เวลากับเด็กคนนั้นมากจนเกินไป ครูควรดูแลเด็กคนอื่นด้วย



  การประเมิน     
 ประเมินตนเอง
  แต่งตัวเรียบร้อย มาสายเล็กน้อย ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์สั่ง ตั้งใจเรียน แอบเสียงดังบ้างเล็กน้อย เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน 
ประเมินเพื่อน  
เพื่อนแต่งตัวเรียบร้อย บางคนก็มาสาย คุยกันเสียงดังเป็นระยะ อาจารย์ต้องคอยเตือนเสมอ บางส่วนก็ตั้งใจเรียน บางครั้งเพื่อนก็ไม่ค่อยสนใจเรียนอาจเป็นเพราะวันนี้มีเนื้อหามากจึงทำให้เพื่อนเบื่อ แต่เพื่อนทุกคนก็เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอนและตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้
ประเมินอาจารย์  อาจารย์แต่งตัวเรียบร้อย ให้ทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอน นำเข้าสู่บทเรียนที่น่าสนใจ คอยยกตัวอย่างเกี่ยวกับเด็กพิเศษให้ฟังเสมอ และคอยถามนักศึกษาว่าเข้าใจเนื้อหาหรือไม่ โดยให้นักศึกษาช่วยกันตอบคำถาม อาจารย์มีความอดทนมากเพราะเวลาที่นักศึกษาเสียงดังอาจารย์จะคอยเตือนเสมอ อาจารย์ตั้งใจสอนและอธิบายเนื้อหาได้อย่างเข้าใจ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น