วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน
วันที่ ศุกร์ ที่ 1 พฤษภาคม 2558
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
 

 วันนี้เป็นการสอบร้องเพลง มีเพลงทั้งหมด 21 เพลง ให้ออกมาจับสลากว่าใครจะได้ร้องเพลงไหน


                วันนี้ได้ฟังน้ำเสียงของเพื่อนแต่ละคนร้องเพลงมีทั้งที่เสียงเพราะและเพี้ยนบ้างเล็กน้อยแต่เพื่อนในห้องก็พยายามช่วยเพื่อนร้องเพลง ให้กำลังใจเพื่อนไปด้วย
การนำไปประยุกต์ใช้
       เรื่องการร้องเพลงให้เด็กปฐมวัยต้องไปฝึกซ้อมมาให้ดี เพื่อจะได้ร้องเพลงเก่ง เวลาร้องหน้าห้องจะได้เขิล อาย  สามารถนำเพลงที่ได้เรียนได้ฝึกร้อง 21 เพลงไปสอนให้เด็กได้ 



ภาพความรักความผูกพันธ์






การประเมิน

ประเมินตนเอง   แต่งตัวเรียบร้อย มาตรงต่อเวลา ตื่นเต้นมากในการสอบร้องเพลงมือเย็นเลยทีเดียว
แต่พอร้องเสร็จก็โล่งอกทันที วันนี้เป็นวันปิดครอสอยากให้อาจารย์สอนไปจนจบเลย อาจารย์เป็นที่รักของนักศึกษาทุกคน
ประเมินเพื่อน   เพื่อนก็ตื่นเต้นในการร้องเพลง บางคนร้องเพลง
บางคนก็ร้องเสียงเพี้ยนบ้าง แต่เพื่อนๆก็ให้กำลังใจ บางคนก็แกล้งเพื่อนอัดวิดีโอบ้าง แต่ก็ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนไม่น่าเบื่อ
ประเมินอาจารย์  ตั้งแต่ครั้งแรกที่เรียนจนถึงวันปิดครอส อาจารย์ก็แต่งตัวเรียบร้อย มาตรงต่อเวลา ตั้งใจสอน อธิบายยกตัวอย่างประกอบเสมอ ทำให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น บางครั้งที่นักศึกษาเสียดังอาจารย์ก็จะตักเตือน อาจารย์ให้คำปรึกษาให้กับนักศึกษาได้ทุกเรื่องจริงๆและคอยช่วยแก้ปัญหาให้ตลอดทำให้นักศึกษาสบายใจ ขอบคุณอาจารย์จริงๆคะ รักอาจารย์ที่สุด



ครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วันที่ 22 เมษายน 2558
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเีรียน 12.20 น.

 
ความรู้ที่ได้รับในวันี้

อาจารย์ให้เล่นเกมแบบทดสอบจิตวิทยา ดิ่งพสุธา จากนั้นก็สอนเรื่องการเขียนแผน IEP
 แผน IEP 
-แผนการศึกษาที่ร่างขึ้นเพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กโดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิะีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
-คัดแยกเด็กพิเศษ
-ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
-เด็กสามารถทำอะไรได้/เด็กไม่สามารถทำอะไรได้ แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
-ข้อมูลส่วนตัวเด็ก
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-เป้าหมายระยะยาวประจำปี/ระยะสั้น
-ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
-วิธีการประเมิน

ประโยชน์ต่อเด็ก
 -ได้เรียนรู้ตามความสารถของตน
-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาและฟิ้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและเขียนรายงานพัฒนาความก้าวหน้าของเด็ก
-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการการจัดทำแผนการศึกาารายบุคคล

1.การรวบรวมข้อมูล
-รายงานทางการแพทย์
-รายงานการประเมินด้านต่างๆ
-บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2.การจัดทำแผน
 -ประชุมผุ้ที่เกี่ยวข้อง
-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
-จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย 
 1.จุดมุ่งหมายระยะยาว
-กำหนดให้ชัดเขนแม้จะกว้าง
-น้องนุชช่วยเหลือตนเองได้
-น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดี
-น้องริวเข้ากัยเพื่อนคนอื่นๆได้
2.จุดมุ่งหมายระยะสั้น
-ตั้งให้อยู่ภาใต้จุดมุ่งหมายหลัก
-เป็นพฤติกรรมให้เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
-จะสอนใคร พฤติกรรมอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน(ที่จะเกิดพฤติกรรมนั้น) 
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

ใคร               อรุณ
อะไร             กระโดดขาเดียวได้
เมื่อไหร่         กิจกรรมกลางแจ้ง
ดีขนาดไหน    กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที


 

ใคร               ธนาภรณ์
อะไร             นั่งเงียบๆโดยไม่พูด
เมื่อไหร่         ระหว่างครูเล่านิทาน
ดีขนาดไหน    ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10-15 นาที เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน

3.การใช้แผน
-เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
-นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
-แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
-จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
-ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสารถดดยคำนึง
1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.อิทธิพลและสิ่งแวดล้อมของเด้กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อกรแสดงออกของเด็ก

4.การประเมินผล
-โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
-ควรมีการกำหนดวิธีการประเมินและเกณฑ์วัดผล

** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**



                                     

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำความรู้และเทคนิคการเขียนแผน IEP ไปลองฝึกเขียนให้เป็น ให้มีความถูกต้อง และสามารถเขียนให้กับเด็กพิเศษในอนาคตได้

การประเมิน
ประเมินตนเอง  แต่งตัวเรียบร้อย มาตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียนแอบคุยกันเสียงดังบางครั้ง สนุกกับเกมที่อาจารย์มาให้เล่น เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน
ประเมินเื่พื่อน   เพื่อนแต่งตัวเรียบร้อย บางคนมาตรงเวลา บางคนมาสายบ้างเล็กน้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน เสียงดังบ้างบางครั้งแต่ถ้าอาจารย์บอกให้เงียบเมื่อไหร่ก็จะตั้งใจฟัง
ประเมินอาจารย์ อาจารย์แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจสอนอธิบายอย่างละเอียดยกตัวอย่างประกอบเสมอทำให้เข้าใจเนื้อหาเป็นอย่างดี



วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่14


15 เมษายน 2558
 
ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันหยุดสงกรานต์

ไปทำบุญที่วัดค่ะ





 

ครั้งที่13

บันทึกอนุทิน
วันที่ 8 เมษายน 2558
เวลาเรียน 09.00-12.20 น.
เวลาเข้าเรียน 09.00 น.เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
 
ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
4.ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย
การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
เด็กรู้สึกว่า  ฉันทำได้
พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งพอสมควร

การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่งคำ แนะนำ
-เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
-เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
-คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว
ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส  กลิ่น-------> ตอบสนองอย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
-การกรอกนิ้ว ตวงน้ำ
-ต่อบล็อก
-ศิลปะ
-มุมบ้าน
-ช่วยเหลือตนเอง

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
 
-ลูกปัดขนาดใหญ่
-รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ทำเป็นกลุ่ม


ความจำ
-จากการสนทนา
-เมื่อเช้าหนูทานอะไร
-แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
-จำตัวละครในนิทาน
-จำชื่อครู เพื่อน
-เล่นเกมทายของที่หายไป

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
-มิติสัมพันธ์
-จับกลุ่ม

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
-จัดกลุ่มเด็ก
-เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
-ให้เด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
-ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
-รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
-มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
-เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
-พูดในทางที่ดี
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
-ทำบทเรียนให้สนุก

 

การประเมิน
ประเมินตนเอง  มาสายบ้างเล็กน้อยเนื่องจากฝนตก ตั้งใจเรียนฟังอาจารย์เฉลยข้อสอบและตั้งใจฟังอาจารย์สอนในห้อง บางครั้งก็เสียสมาธิง่าย
ประเมินเพื่อน   เพื่อนมาสายเนื่องจากฝนตก เพื่อนไม่ค่อยมีสามธิ คุยกันเสียงดังบ้าง มีสมาธิเป็นช่วงๆตอนที่อาจารย์ดุเล็กน้อย
ประเมินอาจารย์  อาจารย์ตั้งใจสอน ยกตัวอย่างในการสอนทุกครั้ง บอกวิธีการรับมือ รายละเอียดทุกอย่าง ว่าถ้ามีสถานการณ์แบบนี้ควรแก้ไขอย่างไร
 

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่12


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีกิจกรรมกีฬาสี  ศึกษาสัมพันธ์





ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วันที่ 25 มีนาคม 2558
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่คั่นดุ๊กดิ๊ก

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์สอบวัดความรู้
 


การประเมิน
ประเมินตนเอง ตั้งใจทำข้อสอบทำข้อสอบนานหน่อยเพราะไม่รู้จะเรียบเรียงภาษายังไงให้อาจารย์อ่านเข้าใจข้อสอบอาจารย์ไม่ยากมากเพราะเกี่ยวกับความเข้าใจและวิธีการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆที่เด็กพิเศษแสดงพฤติกรรมออกมา
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจทำข้อสอบ บางคนก็ทำเสร็จไวบางคนก็ทำช้า แต่ดูเหมือนเพื่อนจะมั่นใจกับการทำข้อสอบครั้งนี้
ประเมินอาจารย์  อาจารย์ให้นักศึกษาถามเกี่ยวกับข้อสอบโจทย์ข้อไหนที่ไม่เข้าใจอาจารย์จะอธิบายให้ ให้นักศึกษาถามคนละ 1 คำถามเท่านั้น

วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่10


บันทึกอนุทิน
วันพุธ ที่ 18  มีนาคม 2558


อาจารย์ให้ตอบคำถามเกี่ยวกับไร่สตอว์เบอรรี่ 

คลิกที่นี่ กดอ่านดูนะ สนุกๆ




การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

3.ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน


การสร้างความอิสละ
-เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง ทำงานตามความสามารถ
-เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่
 
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
-การได้ทำด้วยตนเอง
-เชื่อมั่นตนเอง
-เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
 
หัดให้เด็กทำเอง
*** ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น(ใจแข็ง) เช่นกรณีน้องติดกระดุม เมื่อเด็กพยายามติดกระดุมให้เด็กได้ลองทำเองบ้าง ถ้าไม่ได้จริงๆค่อยช่วยเหลือ
-ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากจนเกินไปทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหาให้เวลาเขาทำ
- หนูทำช้า  หนูยังทำไม่ได้

จะช่วยเมื่อไหร่
-เด็กก็มีวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
-เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
 
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
-แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นๆ
-เรียงลำดับตามขั้นตอน
 
การเข้าส้วม
-เข้าไปในห้องส้วม
-ดึงกางเกงลงมา
-ก้าวไปนั่งบนส้วม
-ปัสสาวะหรืออุจจาระ
-ใช้กระดาษเช็ดก้น
-ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
-กดชักโครกหรือตักน้ำราด
-ดึงกางเกงขั้น
-ล้างมือ
-เช็ดมือ
-เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น
-แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆมากที่สุด


สรุป
-ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็ยขั้นๆ
-ความสำเร็จเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
-ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจ
-เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สุกเป็นอิสระ



ศิลปะบำบัด
ให้เลือกสีที่ชอบที่สุดวงกลมกลางกระดาษจะขนาดไหนก็ได้ตามใจเรา เมื่อพอใจก็ให้ตัดเป็นวงกลม

วงกลมข้างในเป็นสีแดงแสดงว่าลึกๆมั่นใจในตัวเอง ขนาดของวงใกล้เคียงกันคือความมีระเบียบ

กิจกรรมนี้ช่วย
ฝึกสมาธิ
กล้ามเนื้อเล็ก
จินตนาการ
ความคิดสร้างสรรค์
มิติสัมพันธ์

ใช้ได้กับเด็กออทิสติก  สมาธิสั้น ดาว์ซินโดรม และเด็กปกติได้



สิ่งที่นำไปพัฒนา
  ครูควรให้เด็กทำด้วยตนเองถ้าเด็กพยายามทำแล้วยังไม่ได้ครูค่อยไปช้วยเหลือ เมื่อครูเข้าไปหาเด็ก ครูควรต้องเตรีมตัวตลอดเวลาว่าจะรับมือเด็กอย่างไร การจะสอนเด็กในการช่วยเหลือตนเองควรอธิบายเป็นลำดับขั้นแยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการสอนเด็กได้


การประเมิน
ประเมินตนเอง อากาศร้อน ง่วงนอน ไม่มีสมาธิในการเรียน แต่ก็ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ ฟังอาจารย์อธิบายและตอบคำถาม
ประเมินเพื่อน   เพื่อนบ่นร้อนจึงทำให้บรรยากาศไม่ค่อยน่าเรียน เพื่อนเสียสมาธิง่าย บางคนก็ตั้งใจเรียนบางคนไม่ไหวจริงๆก็นอนบ้าง 
ประเมินอาจารย์  ถึงแม้อากาศจะร้อนอาจารย์ก็ยังควบคุมอารมณ์ได้ ตั้งใจสอนและยกตัวอย่างอธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่สอนตั้งคำถามให้นักศึกษาตอบ เพื่อนเช็คความเข้าใจ