วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่3

บันทึกอนุทิน
วันพุธ ที่ 28 มกราคม 2558
เวลาเรียน 09.00-12.00 น.
เวลาเข้าเรียน 09.00 เวลาเลิกเรียน 12.00 น.




อาจารย์แจกกระดาษและสีให้วาดภาพดอกกุหลาบพร้อมระบายสี














เนื้อหาที่เรียน
เรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม 
ครูไม่ควรวินิจฉัย คือ ไม่มีสิทธิ์ไปบอกคนอื่นว่าเด็กเป็นอะไร ห้ามฟันธงเด็กว่าเป็นอะไร เพราะการวิจฉัยคือการตัดสินใจโดยดูจากอาการที่แสดงออกมาอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ เพราะ พ่อแม่ของเด็กทราบดีว่าลูกเขามีปัญหา
-ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก  รายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้างเท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
ครูทำอะไรบ้าง
-สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
-จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
-ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผล
-สังเกตบันทึกทุกอย่างที่เด็กทำ/สิ่งที่เด็กพูด
ครูไม่ควรตั้งชื่อเด็กหรือระบุประเภทเด็ก
-เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
-ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
-เด็กจะกลายเป็นเหมือนชื่อฉายาที่ตั้งให้จริงๆ
สังเกตอย่างเป็นระบบ เพราะครูเห็นเด็กในสถานการณฺ์ต่างๆช่วงเวลานานกว่าซึ่งต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา มักมุ่งสนใจอยู่ที่ปัญหา
การตรวจสอบ     -เพื่อจะได้ทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
                           - เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กขึ้น
                           - บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ    -ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
                                           -ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
                                           -พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต         
-การนับง่ายๆ  คือ นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง  ระยะเวลาในการเกอดพฤติกรรม
-การบันทึกต่อเนื่อง  คือ เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง จดทุกอย่างที่เป็นคำพูดเด็ก โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
-การบันทึกไม่ต่อเนื่อง  คือ บันทึกลงบัตรเล็กๆ เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป   -ควรเอาใจใส่ระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง
การตัดสินใจ  ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
                      พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
ตัวอย่างน้อง ออทิสติก น้องผู้ชาย 5 ขวบ มีพฤติกรรมคือ
-เวลาไปเล่นกลางแจ้งน้องเล่นคนเดียว เช่นเล่นม้าโยก ม้ากระดก
-ก่อนที่จะเล่นทุกครั้ง น้องจะพูดคำว่า เฮ้
พฤติกรรมที่ควรแก้ไข คือ ให้น้องมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนเล่นกับเพื่อน

-พฤติกรรมที่ไม่มั่นใจว่าควรแก้ไขหรือไม่ควรเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่ 
-ลำดับความสำคัญอันไหนสำคัญก่อนต้องรีบแก้ไข

สิ่งที่ทำไปพัฒนา    การเป็นครูปฐมวัยที่ดีต้องรู้จักบทบาทของตนเอง ต้องรู้จักการสังเกตเด็กภายในห้องเรียนรู้วิธีการในการพูดการสื่อสารกับผู้ปกครอง สิ่งที่ควรพูดหรือสิ่งที่ไม่ควรพูด กับผู้ปกครอง ใช้คำพูดที่เหมาะสมให้ผู้ปกครองมีกำลังใจและเมื่อสังเกตเด็กต้องสังเกตเด็กอย่างมีแบบแผนมีการบันทึกทุกครั้ง



การประเมิน
ประเมินตนเอง. วันนี้แต่งกายเรียบร้อยตั้งใจเรียน อาจารย์ให้วาดภาพเริ่มคิดหนักจะวาดยังไงแต่ก็พยายามสุดๆตั้งใจวาดอย่างเต็มที่ เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน อาจารย์ยกตัวอย่างมีรูปหนูด้วย สนุกหัวเราะกันใหญ่เลย. ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อดีค่ะ ชอบบบบ
ประเมินเพื่อน. เพื่อนทุกคนตั้งใจวาดภาพมาก มีขนาดที่ต่างกันภาพของแต่ละครวาดสวยมาก เพื่อนๆตั้งใจเรียนพออาจารย์ยกตัวอย่างและมีรูปเพื่อนแต่ละคนประกอบด้วยพากันหัวเราสนุกสนานกันภายในห้องเรียน
ประเมินอาจารย์   อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย อาจารย์เลือกดอกกุหลาบสองสีให้ห้องนี้วาดเพราะเชื่อถึงความสามารถว่าเด็กห้องนี้ทำได้ อาจารย์อธิบายเข้าใจ พร้อมยกตัวอย่างประกอบทุกครั้ง



วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน
วันพุธ ที่ 21 มกราคม 2558
เวลาเรียน 09.00-12.00 น.
เวลาเข้าเรียน 09.15 เวลาเลิกเรียน 12.00 น.


 ความรู้ที่ได้รับ
               อาจารย์ให้ทบทวนบทเพลง เพลง นม ร้อง 2 รอบ  จากนั้นร้องเพลง อาบน้ำ เพลงแปรงฟัน เพลงพี่น้องกัน และเพลงมาโรงเรียน

1. การศึกษาปกติทั่วไป   สำหรับเด็กปกติ
2. การศึกษาพิเศษ 
               ปัจจุบันสังคมได้เห็นคุณค่าของเด้กพิเศษจึงมีการส่งเสริมเรื่องการศึกษาให้เด็กพิเศษ 2 แบบ คือ
1.การศึกษาแบบเรียนร่วม Intergrated Education/Mainstreaming
คือเด็กพิเศษในการศึกษาทั่วไป ไม่เปลี่ยนการศึกษา แต่เขียนแผน IEP
มีกิจกรรมให้เด็กพิเศษและเด็กปกติทำ ใน ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง 
ครูปฐมวัยร่วมกับครูการศึกษาพิเศษ
1.1เรียนร่วมบางเวลา (Intergration)
-จัดให้เด็กในโรงเรียนในบางเวลา กิจกรรมที่เอาเด็กไปคือ ศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว
-เด็กมีโอกาสแสดงออกและปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
-เป็นเด็กที่มีความพิการระดับปานกลาง ระดับมาก จึงไม่เรียนร่วมกับเต็มเวลาได้
1.2เรียนร่วมเต็มเวลา(Mainstreaming)
-เด็กอยู่ในการดูแลการศึกษาพิเศษ
-เด็กให้เด็กเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
-เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้
-มีเป้าหมายให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกันตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
-เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่าง มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่ เช่นเดียวกันทุกคน
2.การศึกษาแบบเรียนรวม Inclusive Education
การศึกษามีสถานะเท่ากันรับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
จุดสำคัญในการเรียนรวม
-ถ้ามีเด็กพิเศษอยู่ในห้องครูต้องบอกเพื่อนในห้องด้วย
-อย่าให้เด็กในห้องมาเอาจุดด้อยมาล้อกินในห้อง(อย่าตั้งฉายา)ครูอย่าตั้งฉายาให้เด็ก
สรุป
     เด็กอายุ0-7 ปีเป็นวัยทองแห่งการเรียนรู้เป็นสำคัญที่สุดของการเรียนรู้สามารถสอนได้
คุณครู อย่าดูถูกเด็ก อย่าคิดว่าเด็กทำไม่ได้ อย่าคาดหวัง ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนว่าจะมีวิธีการสอนอย่างไร

สิ่งที่นำไปพัฒนา
       ทำให้รู้ว่าบทเพลงที่เราสอนเด็กปฐมวัยเมื่อเด็กได้ยินเด็กจะรู้ทันทีว่าต้องทำอะไรบ้าง เช่นเพลงอาบน้ำเมื่อเด็กได้ิยินเด็กพิเศษก็จะถอดเสื้อเตรียมตัวอาบน้ำเลย บทเพลงช่วยได้มากสำหรับเด็กพิเศษครูสามารถนำบทเพลงไปใช้กับเด็กพิเศาได้จริงเป็นการสื่อสารชนิดหนึ่งที่เมื่อเด็กได้ยินบทเพลงเด็กรู้ว่าต้องทำอะไร และสิ่งที่อาจารย์ยกตัวอย่างภายในห้องเรียนสามารถเป็นความรู้ว่าเราควรทำอะไรบ้างเมื่อเราได้อยู่กับเด็กพิเศษจริงๆ 
 การประเมิน
ประเมินตนเอง    
 วันนี้มาเรียนสาย 15 นาทีแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน ไม่มีสมาธิบางครั้ง
ประเมินเพื่อน
  เพื่อนบางกลุ่มตั้งใจเรียนบางคุยก็คุยกันบ้างอาจจะเป็นเพราะวันนี้มีเพื่อนกลุ่มอื่นมาเรียนด้วยทำให้เพื่อนไม่มีสมาธิกัน แต่ก็ตั้งใจทำแบบทดสอบของอาจารย์
ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์ตั้งใจสอนและคอยเน้นตรงส่วนที่สำคัญให้นักศึกษาจำได้พอเรียนจบอาจารย์ก็ให้ทำแบบฝึกหัดเพื่อเป็นการทดสอบความเข้าใจ


วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่1

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธ ที่ 14 มกราคม 2558
เวลาเรียน 08.30- 12.20 น.

.



ความรู้ที่ได้รับวันนี้
      อาจารย์เฉลยข้อสอบของวิชา การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษของภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2557 ทำให้รู้ว่าเราทำผิดข้อไหนไปบ้าง และทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติม และอาจารย์ได้ให้ใบงานมา เพื่อทบทวนความรู้จากเทอมที่แล้ว ว่าจำอะไรได้บ้างเกี่ยวกับเด็กพิเศษ
      อาจารย์ได้สอนร้องเพลงเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย มีทั้งหมด 5 เพลง ได้แก่
1.เพลงนม
2.เพลงแปรงฟัน
3.เพลงอาบน้ำ
4.เพลงพี่น้องกัน
5.เพลงมาโรงเรียน

ผู้แต่ง คือ อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
    
   วันนี้อาจารย์จะให้ฝึกร้องเพลง นม ก่อน
เพลง นม
    นมเป็นอาหารดี       มีคุณค่าต่อร่างกาย
ดื่มแล้วชื่นใจ               ร่างกายแข็งแรง
    ยังมีนมถั่งเหลือง     ดื่มได้ดีและไม่แพง
ดื่มแล้วชื่นใจ               ร่างกายแข็งแรง

สิ่งที่นำไปพัฒนา
    วันนี้เมื่ออาจารย์เฉลยข้อสอบก็ทำให้รู้ว่าควรอ่านโจทย์ให้ดีและรอบคอบมากกว่านี้และได้รับความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์เฉลย  พออาจารย์แจกใบงานเกี่ยวกับเด็กพิเศษให้ทำก็เหมือนเป็นการทบทวนบทเรียนไปด้วย และสามารถนำความรู้เด็กพิเศษในการเรียนครั้งต่อไป อาจารย์สอนเกี่ยวกับการร้องเพลงทำให้รู้ว่าตัวเองร้องเพลงไม่เพราะต้องไปฝึกร้องบ่อยๆ ร้องให้แม่นมากกว่าเดิมค่ะเพื่อจะนำเพลงที่ร้องไปสอนเด็กปฐมวัยได้


การประเมิน
ประเมินตนเอง   ตั้งใจเรียนแต่งตัวเรียบร้อย  ตั้งใจฟังอาจารย์เฉลยข้อสอบและทำแบบฝึกหัดทบทวนความรู้ และแอบชวนเพื่อนคุยบ้างเล็กน้อย แต่ก้ตั้งใจฟังอาจารย์สอนนะคะ สนุกมากค่ะกับการร้องเพลงนม รู้เลยค่ะว่าตนเองร้องเพลงเพี้ยน
ประเมินเพื่อน    เพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยตั้งใจฟังอาจารย์เฉลยข้อสอบ และเสียงดังบ้างเป็นระยะ เพื่อนเรียนอย่างมีความสุข ร้องเพลงด้วยความสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์    อาจารย์แต่งตัวเรียบร้อย ยิ้มแย้มแจ่มใส คอยทบทวนเน้นย้ำเกี่ยวกับเนื้อหาตลอดเวลาเพื่อให้นักศึกษาจำได้ ใส่ใจนักเรียนทุกคนแม้กระทั่งชื่อจริง นามสกุล อาจารย์ก็ยังจำได้ สุดยอดมากค่ะ